ยาสามัญประจำบ้าน : โดยเภสัชกรปริญญา


ยาสามัญประจำบ้าน (Household remedies)

ยาสามัญประจำบ้าน 

เป็นชื่อเรียกของกลุ่มยาที่มีทั้งยาแผนโบราณและยาแผนปัจจุบัน ที่ประทรวงสาธารณสุขได้กำหนดให้เป็นยาสามัญประจำบ้าน หมายถึง ยาที่ประชาชนทั่วไปสามารถหาซื้อมาใช้ได้ โดนที่อาจกล่าวได้ว่าไม่มีอันตรายแต่อย่างใด ยกเว้นในบางคนที่แพ้ยาเหล่านี้ (พบได้น้อยมากๆ)และเพื่อให้เป็นการรักษาตนเองในเบื้องต้น เมื่ออาการไม่ดีขึ้นภายใน 2-3 วัน หลังใช้ยาสามัญประจำบ้าน จึงควรพบเภสัชกรหรือแพทย์ ทั้งนี้ยาสามัญประจำบ้านใช้รักษาอาการเจ็บป่วยเล็กๆน้อยๆที่ไม่มีอาการรุนแรง ซึ่งผู้ป่วยหรือประชาชนสามารถใช้รักษาได้ด้วยตนเองเบื้องต้นได้ เช่น ไอ ปวดศีรษะ ถูกน้ำร้อนลวก ท้องอืด ท้องเฟ้อ ถูกมีดบาด เป็นต้น อีกทั้งสามารถหาซื้อได้ตามร้านขายยาทั่วไปโดยไม่ต้องมีใบสั่งแพทย์ โดยยาจะมีฉลากคำว่า”ยาสามัญประจำบ้าน”ติดไว้ข้างผลิตภัณฑ์ มีขนาดตัวอักษรที่สามารถอ่านได้ชัดเจน และมีคำว่า”ยาสิ้นอายุ”แสดง วัน เดือน ปี ที่ยาสิ้นอายุ ไว้ด้วย

วิธีใช้ยาสามัญประจำบ้านให้ถูกต้อง

การใช้ยาให้ถูกต้องนั้น ผู้ที่จะใช้ยาควรมีความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับการใช้ เพื่อให้ได้ผลในการรักษาเต็มที่และเกิดผลเสียจากการใช้ยาน้อยที่สุด โดยมีหลักว่าจะต้องใช้ยาให้ถูกกับโรค ถูกกับคน (เด็ก ผู้ใหญ่ หญิงตั้งครรภ์ เป็นต้น) และใช้ยาให้ถูกเวลา ถูกวิธี ถูกขนาด ดังนี้
1. ใช้ยาให้ถูกโรค หรือถูกขนาน ก่อนใช้ยาบำบัดหรือบรรเทาอาการที่เกิดขึ้น ควรศึกษาก่อนว่าอาการนั้นเกิดจากสาเหตุใด และควรใช้ยาขนานใดให้ตรงกับการแก้ปัญหาหรือสาเหตุนั้น เช่น ปวดท้อง เป็นเพราะท้องผูกหรือท้องเสีย หรืออาหารไม่ย่อย เป็นต้น การใช้ยาแก้ปวดท้องจากสาเหตุต่างๆ ซึ่งไม่เหมือนกัน
2. ใช้ยาให้ถูกกับบุคคล ปฏิกิริยาการตอบสนองต่อยาในแต่ละบุคคลจะต่างกัน โดยเฉพาะต่างเพศหรือต่างวัย เด็กและคนชราจะตอบสนองต่อยาไวกว่าวัยกลางคน ยาบางชนิดใช้ได้กับสตรีเท่านั้น ยาบางชนิดห้ามใช้ในสตรีมีครรภ์และเด็ก เช่น เตตราซัยคลีน เป็นต้น ดังนั้นจึงไม่ควรนำยาของบุคคลหนึ่งมาใช้กับอีกบุคคลหนึ่งที่ต่างเพศต่างวัยกัน หากจำเป็นต้องศึกษาจากผู้รู้ก่อน
3. ใช้ยาให้ถูกขนาด ให้ตรงกับขนาดที่ระบุเท่านั้น สำหรับการใช้ยาต้านจุลชีพ ไม่ว่าจะเป็นยาภายในหรือยาภายนอก จะต้องใช้อย่างต่อเนื่อง สม่ำเสมอจนกว่ายานั้นหมด สำหรับการลืมรับประทานยา ให้รีบรับประทานขนาดเดิมทันทีเมื่อนึกได้โดยไม่ต้องเพิ่มขนาดยา การใช้ยาน้ำรับประทาน ควรใช้ช้อนตวงมาตรฐานที่ให้มากับยาเท่านั้น
4. ใช้ยาให้ถูกเวลา ช่วงห่างของเวลาใละครั้ง ควรมีระยะเท่าๆ กัน อย่างเช่น ใช้ยาทุก 4 ชั่วโมง เพื่อให้ระดับยาในเลือดสม่ำเสมอ ไม่ต่ำเกินไปคงที่ และมีการกำหนดว่าเป็นยาก่อนหรือหลังอาหารด้วย

"ยาก่อนอาหาร"
 ต้องรัีบประทานยานั้นก่อนอาหารครึ่งชั่วโมง ถึง 1 ชั่วโมง จุดมุ่งหมายให้รับประทานยานั้นตอนท้องว่าง จะช่วยในการดูดซึมยาผ่านผนังกระเพาะอาหารเข้าสู่เส้นเลือดได้ดี นอกจากนี้ยาบางประเภท เช่น ยาปฏิชีวนะจะถูกทำลายได้ง่าย โดยน้ำย่อยอาหารที่หลั่งออกมาโดยอัตโนมัติ เมื่อเริ่มรับประทานอาหาร เป็นต้น

"หลังอาหาร"
จะรับประทานยานั้นภายหลังการรับประทานอาหารไปแล้วนานเท่าใดก็ได้ เช่น รับประทานยานั้นหลังจากเสร็จสิ้นการรับประทานอาหารทันที หรือ 15 นาทีไปแล้วก็ได้ แสดงว่ายานั้นไม่มีผลเสียต่อกระเพาะอาหาร และอาหารไม่มีผลต่อยานั้น แต่ถ้าระบุว่า 'หลังอาหารทันที' จะต้องรับประทานยานั้นหลังเสร็จสิ้นการรับประทานอาหารทันทีเท่านั้น เนื้องจากยานั้นมีฤทธิ์กัดกร่อนผนังกระเพาะ ซึ่งจำเป็นต้องใช้อาหารเป็นเกราะำกำบังไว้มิให้ยาสัมผัสกับผนังโดยตรง

"หลังอาหาร 1-2 ชั่วโมง" 
การรับประทานยาเคลือบผนังกระเพาะอาหารหรือยาลดกรด เพื่อรักษาแผลในกระเพาะอาหาร ควรรับประทานหลังอาหารไปแล้วประมาณ 1-2 ชั่วโมง หรือก่อนอาหาร 1 ชั่วโมง เพื่อให้ยานี้ทำหน้าที่ได้อย่างเต็มที่โดยไม่มีอาหารเป็นเครื่องกีดขวาง

"การับประทานยาระบายแก้ท้องผูก"ยานั้นจะออกฤทธิ์หลังจากรับประทานเข้าไปแล้ว 6-8 ชั่วโมง ดังนั้นหากต้องการให้เกิดการถ่ายอุจจาระในตอนเช้า จะต้องรับประทานยานี้ก่อนนอน

การรับประทานยาแก้อาเจียน แก้ปวดท้อง มักนิยมให้รับประทานก่อนอาหารเป็นเวลาประมาณ 20-30 นาที เพื่อมิให้เกิดอาการเมื่อเริ่มรับประทานอาหารเข้าไป
การรับประทานยาขับปัสสาวะ มักใช้ในโรคความดันโลหิตสูง เพื่อลดปริมาณน้ำในร่างกาย ซึ่งจะมีผลให้ความดันโลหิตลดลง นิยมให้มื้อเช้าหรือกลางวันเท่านั้น เนื่องจากถ้าให้มื้อเย็นจะทำให้คนไข้ต้องตื่นกลางดึกเพื่อลุกขึ้นมาปัสสาวะ

รายชื่อยาสามัญประจำบ้านและวิธีการใช้


1. ยาเม็ดลดกรด อะลูมินา-มักเนเซีย ใช้บรรเทาอาการจุกเสียด ท้องขึ้น ท้องเฟ้อ และปวดท้องเนื่องจากมีกรดมากในกระเพาะอาหาร หรือแผลในกระเพาะอาหารและลำไส้ ให้เคี้ยวยาก่อนกลืน รับประทานก่อนอาหาร 30 นาที หรือหลังอาหาร 1 ชั่วโมง หรือเมื่อมีอาการ
ผู้ใหญ่ รับประทานครั้งละ 1-4 เม็ด
เด็ก 6-12 ปี รับประทานครั้งละ 1-2 เม็ด เก็บยาไว้ที่อุณหภูมิห้อง

2. ยาน้ำลดกรด อะลูมินา-มักเนเซีย บรรจุขวด รับประทานก่อนอาหาร 30 นาที หรือหลังอาหาร 1 ชั่วโมง หรือเมื่อมีอาการ
ผู้ใหญ่ รับประทานครั้งละ 1-4 เม็ด
เด็ก 6-12 ปี รับประทานครั้งละ 1-2 เม็ด
เก็บยาไว้ที่อุณหภูมิห้อง

3. ยาเม็ดแก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ โซดามินต์ 300 มก. บรรจุแผงพลาสติกหรืออลูมิเนียม ใช้บรรเทาอาการจุกเสียด ลดอาการระคายเคือง เนื่องจากมีกรดมากในกระเพาะอาหาร รับประทานหลังอาหาร 1 ชั่วโมง หรือเมื่อมีอาการ
ผู้ใหญ่ รับประทานครั้งละ 3-6 เม็ด
เด็ก 6-12 ปี รับประทานครั้งละ 1-3 เม็ด เก็บยาไว้ที่อุณหภูมิห้อง

4. ยาขับลม ในสูตรตำรับ 15 มล. บรรจุขวด ใช้บรรเทาอาการท้องขึ้น ท้องอืด ท้องเฟ้อ และขับลมในกระเพาะอาหาร เขย่าขวดก่อนใช้ยา
รับประทานวันละ 3-4 ครั้ง
ผู้ใหญ่ รับประทานครั้งละ 1-2 ช้อนโต๊ะ
เด็ก 6-12 ปี รับประทานครั้งละ 1/2 หรือ 1 ช้อนโต๊ะ เก็บยาไว้ที่อุณหภูมิห้อง

5. ยาแก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ ยาธาตุน้ำแดง บรรจุขวด ใช้บรรเทาอาการปวดท้องเนื่องจากจุกเสียด ท้องขึ้น ท้องเฟ้อ เขย่าขวดก่อนใช้ยา
รับประทานก่อนอาหารวันละ 3 ครั้ง
ผู้ใหญ่ รับประทานครั้งละ 1-2 ช้อนโต๊ะ
เด็ก 6-12 ปี รับประทานครั้งละ 1/2 หรือ 1 ช้อนโต๊ะ เก็บยาไว้ที่อุณหภูมิห้อง

6. ยาน้ำแก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ โซเดียมไบคาร์บอเนต 50 มก. ใช้บรรเทาอาการท้องอืด ท้องขึ้น ท้องเฟ้อ เนื่องจากมีกรดมากในกระเพาะอาหาร ใช้ป้อนให้ทารกและเด็กหลังอาหาร หรือเมื่อมีอาการ ไม่ควรให้เกินวันละ 6 ครั้ง
เด็กอายุ 2-3 ปี ครั้งละ 2-3 ช้อนชา
เด็กอายุ 6-12 เดือน ครั้งละ 2 ช้อนชา
เด็กอายุ 1-6 เดือน ครั้งละ 1 ช้อนชา
ทารกแรกเกิด-1 เดือน ไม่ควรใช้ เก็บยาไว้ที่อุณหภูมิห้อง

7. ยาทาแก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ ทิงเจอร์มหาหิงคุ์ บรรเทาอาการท้องขึ้น ท้องเฟ้อ ปวดท้องในเด็ก
ใช้ทาบางๆ ที่หน้าท้อง วันละ 2-3 ครั้ง เก็บยาไว้ที่อุณหภูมิห้อง

8. ยาแก้ท้องเสีย ผงน้ำตาลเกลือแร่ 1 ซอง สำหรับผสมกับน้ำ 250 มิลลิลิตร ทดแทนการสูญเสียน้ำในรายที่มีอาการท้องร่วงมาก หรืออาเจียนมาก และป้องกันการช็อกเนื่องจากการที่ร่างกายขาดน้ำ วิธีใช้เทผงยาทั้งซองละลายในน้ำสะอาด เช่น น้ำต้มสุกที่เย็นแล้ว ประมาณ 250 มิลลิลิตร (1 แก้ว) ให้ดื่มบ่อยๆ ถ้าถ่ายบ่อยให้ดื่มบ่อยครั้งขึ้น ถ้าอาเจียนด้วยให้ดื่มทีละน้อย แต่บ่อยครั้ง
1) เก็บในที่แห้ง และป้องกันไม่ให้ถูกแสงแดด
2) ยาที่ละลายน้ำแล้วเกิน 24 ชั่วโมง ไม่ควรใช้

9. ยาระบายกลีเซอรีนชนิดเหน็บทวาร สำหรับเด็ก แท่งละ 1.5 กรัม บรรจุแผง สำหรับบรรเทาอาการท้องผูก ใช้เหน็บทวารหนักเพื่อช่วยในการขับถ่าย ใช้เหน็บทวารหนัก ครั้งละ 1 แท่ง เมื่อต้องการใช้ควรรอไว้ 15 นาที เพื่อให้ตัวยาละลาย ให้เก็บยาไว้ในตู้เย็น และป้องกันไม่ให้โดนแดด

10. ยาระบายกลีเซอรีนชนิดเหน็บทวาร สำหรับผู้ใหญ่ ใช้บรรเทาอาการท้องผูก ใช้เหน็บทวารหนักเพื่อช่วยการขับถ่าย ใช้เหน็บทวารหนักครั้งละ 1 แท่ง เมื่อต้องการใช้ควรรอไว้ 15 นาที เพื่อให้ตัวยาละลาย ให้เก็บในตู้เย็น และป้องกันไม่ให้โดนแสงแดด

11. ยาระบายมักเนเซีย 1.2 ก. ใช้เป็นยาระบาย ต้องเขย่าขวดก่อนใช้ยา รับประทานก่อนนอนหรือตื่นนอนในตอนเช้า
ผู้ใหญ่ รับประทานครั้งละ 2-3 ช้อนโต๊ะ
เด็ก 6-12 ปี รับประทานครั้งละ 1-2 ช้อนโต๊ะ
เด็ก 1-6 ปี รับประทานครั้งละ 1-3 ช้อนชา เก็บไว้ที่อุณหภูมิระหว่าง 15-30 องศาเซลเซียส
12. ยาระบายมะขามแขก ซึ่งมีปริมาณเซนโนไซด์บี 7.5 มก. ใช้เป็นยาระบาย รับประทานก่อนนอนหรือตื่นนอนในตอนเช้า
ผู้ใหญ่ รับประทานครั้งละ 3-4 เม็ด
เด็ก 6-12 ปี รับประทานครั้งละ 1-2 เม็ด เก็บยาในที่แห้ง และอุณหภูมิต่ำกว่า 30 องศาเซลเซียส

13. ยาระบายโซเดียมคลอไรด์ 15% ชนิดสวนทวาร ใช้สำหรับบรรเทาอาการท้องผูก ใช้สวนทวารให้ถ่ายอุจจาระ สวนเข้าทางทวารหนัก แล้วกลั้นไว้จนทนไม่ไหวจึงเข้าส้วม
ผู้ใหญ่ ใช้ครั้งละ 20-40 มิลลิลิตร
เด็ก 6-12 ปี ใช้ครั้งละ 10-20 มิลลิลิตร
เด็ก 1-6 ปี ใช้ครั้งละ 5-10 มิลลิลิตร เก็บยาที่อุณหภูมิห้อง

14. ยาถ่ายพยาธิลำไส้ มีเบนดาโซน 100 มก. ใช้ถ่ายพยาธิเส้นด้าย ตัวกลม เคี้ยวยาให้ละเอียดก่อนกลืน
สำหรับพยาธิเส้นด้ายและพยาธิเข็มหมุด ทั้งเด็กอายุตั้งแต่ 2 ปี ขึ้นไป และผู้ใหญ่ รับประทานครั้งละ 1 เม็ด หลังอาหารเย็นเพียงครั้งเดียว
สำหรับพยาธิตัวกลมอื่นๆ ได้แก่ พยาธิปากขอ พยาธิไส้เดือน และพยาธิแส้ม้า ทั้งเด็กอายุตั้งแต่ 2 ปีขึ้นไป และผู้ใหญ่ รับประทานครั้งละ 1 เม็ด วันละ 2 ครั้ง หลังอาหารเช้าและเย็น ติดต่อกัน 3 วัน และอาจรับประทานซ้ำอีก 1 เม็ด หลังจากการรักษาครั้งแรก 2 สัปดาห์ต่อมา การเก็บยาควรป้องกันไม่ให้ถูกแสงแดด

15. ยาเม็ดบรรเทาปวด ลดไข้แอสไพริน 325 มก. ใช้ลดไข้ บรรเทาอาการปวด รับประทานหลังอาหารทันที หรือขณะท้องไม่ว่าง แล้วดื่มน้ำตามมากๆ รับประทานทุกๆ 4-6 ชั่วโมง เมื่อมีอาการ ไม่ควรรับประทานเกินวันละ 5 ครั้ง
ผู้ใหญ่ รับประทานครั้งละ 1-2 เม็ด
เด็ก 6-12 ปี รับประทานครั้งละ 1 เม็ด
เด็ก 3-6 ปี รับประทานครั้งละ 1/2 เม็ด เก็บที่อุณหภูมิห้อง

16. ยาเม็ดบรรเทาปวด ลดไข้พาราเซตามอล 500 มก. ใช้ลดไข้ บรรเทาอาการปวด 4-6 ชั่วโมง เมื่อมีอาการ ไม่ควรรับประทานเกินวันละ 4 ครั้ง
ผู้ใหญ่ รับประทานครั้งละ 1-2 เม็ด
เด็ก 6-12 ปี รับประทานครั้งละ 1/2-1 เม็ด เก็บที่อุณหภูมิห้อง

17. ยาเม็ดบรรเทาปวด ลดไข้พาราเซตามอล 325 มก. ใช้ลดไข้ บรรเทาอาการปวด รับประทานทุก 4-6 ชั่วโมง เมื่อมีอาการ และไม่ควรรับประทานเกินวันละ 5 ครั้ง
ผู้ใหญ่ รับประทานครั้งละ 2 เม็ด
เด็ก 6-12 ปี รับประทานครั้งละ 1 เม็ด เก็บยาที่อุณหภูมิห้อง

18. ยาน้ำบรรเทาปวด ลดไข้พาราเซตามอลชนิดน้ำ รับประทานทุก 4-6 ชั่วโมง เมื่อมีอาการ ไม่ควรรับประทานเกินวันละ 5 ครั้ง เก็บยาไว้ที่อุณหภูมิห้อง

19. พลาสเตอร์บรรเทาปวด ในสูตรตำรับประกอบด้วยตัวยาสำคัญ ที่มีสรรพคุณบรรเทาอาการปวดกล้ามเนื้อ ให้เช็ดบริเวณผิวหนังที่จะปิดให้สะอาดและแห้ง เมื่อปิดพลาสเตอร์ตรงบริเวณที่มีอาการปวดแล้ว ควรเปลี่ยนทุกวัน

การใช้ยาทุกชนิด ควรจะปฏิบัติตามข้อปฏิบัติพื้นฐานในการใช้ยาทุกชนิด รวมทั้งเมื่อจะซื้อยาใช้เองก็ต้องปรึกษาเภสัชกรประจำร้านยาด้วยทุกครั้ง

##เพื่อความปลอดภัยซื้อยา อาหารเสริม จากเภสัชกรปริญญาเท่านั้น##

ร้านยาเฌอเอมเภสัช
ติดถนนสายหลักแพร่-ลอง-ลำปาง ใกล้โรงพยาบาลลอง
 ขายยา อาหารเสริม เวชสำอางค์ และอุปกรณ์ทางการแพทย์
 บริการให้คำปรึกษาเรื่องยาและการดูแลสุขภาพฟรี!! โดยเภสัชกรปริญญา
 เปิดให้บริการทุกวันไม่เว้นวันหยุดราชการตั้งแต่เวลา 7.30-20.00 น.
 สายด่วนเภสัชกร 061-6724516

#กดไลค์กดแชร์ให้เฌอเอมเภสัชด้วยนะค่ะ
https://www.facebook.com/CheraimPharmacy/
ID LINE@:@tyn1970p (ใส่@ข้างหน้าด้วยค่ะ)
https://line.me/R/ti/p/%40tyn1970p
https://line.me/R/ti/p/%40tyn1970p
blogspot : https://chearaimphar.blogspot.com/

#เฌอเอมเภสัช #chearaim
#ยา #อาหารเสริม #เวชสำอางค์ #อุปกรณ์ทางการแพทย์
#โรงพยาบาลลอง #ตลาดนัดคลองถมเมืองลอง


ความคิดเห็น